โรงพยาบาลสัตว์เศรษฐกิจสัตวแพทย์ กรุงเทพฝั่งธนบุรี

ตั้งอยู่ถนนหมู่บ้านเศรษฐกิจ แขวงบางแคเหนือ เขตบางแค กรุงเทพมหานคร เริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่ พ.ศ.2543 รวมระยะเวลามากกว่า 20  ปี ด้วยความมุ่งมั่นของคณะผู้บริหาร ทีมสัตวแพทย์  และพนักงานทุกคนที่ต้องการพัฒนาคุณภาพการรักษา การวินิจฉัย ตลอดจนถึงคุณภาพงานบริการ การดูแลสัตว์ป่วยให้เทียบเท่ามนุษย์

โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพสัตว์เลี้ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอด 24 ชั่วโมง จากความตั้งใจในการพัฒนาทั้งหมดนี้ ทำให้ โรงพยาบาลสัตว์เศรษฐกิจสัตวแพทย์  ได้รับการรับรองให้เป็น CAT FRIENDLY CLINIC รางวัลระดับ GOLD CERTIFICATE จากประเทศอังกฤษ โดยเป็นแห่งที่ 3 ของประเทศไทย เป็นรางวัลที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลตั้งแต่ปี 2020 จนถึงปัจจุบัน และยังได้ผ่านการรับรองคุณภาพสถานพยาบาลสัตว์จากคณะกรรมการมาตรฐานสถานพยาบาลสัตว์แห่งประเทศไทย (THAILAND ANIMAL HOSPITAL STANDARD AND ACCREDITATION / TAHSA) และนอกจากนี้โรงพยาบาลยังได้รับรางวัล “โรงพยาบาลสัตว์ที่มีมาตรฐานดีเด่นที่สุด ประจำปี 2565”  ทั้งนี้พนักงานทุกคนได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงร่วมมือกันพัฒนาคุณภาพต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง

 



ปรึกษาสัตวแพทย์ออนไลน์

หากคุณมีความกังวลใจเรื่องสัตว์เลี้ยง ไม่สะดวกเดินทาง เรามีบริการปรึกษาสัตวแพทย์ออนไลน์ ผ่านรูปแบบการโทร หรือ วิดีโอคอล พร้อมบริการจัดส่งยาให้ถึงที่บ้าน

บริการสัตวแพทย์ถึงบ้าน

เรามีทีมสัตวแพทย์ให้บริการตรวจสุขภาพเบื้องต้น และฉีดวัคซีนนอกสถานที่ ตามระยะทางที่กำหนด

บริการสัตว์ป่วยฉุกเฉิน

โรงพยาบาลสัตว์เศรษฐกิจสัตวแพทย์ ให้บริการรองรับสถานการณ์สัตว์ป่วยฉุกเฉิน ที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

บริการผ่าตัดสัตว์เลี้ยง
ศูนย์ศัลกรรมผ่าตัดสัตว์เลี้ยง ให้บริการโดยทีมสัตวแพทย์ศัลยกรรม มากประสบการณ์ อาทิเช่น การผ่าคลอด ทำหมันสัตว์เลี้ยง การผ่าตัดมดลูกอักเสบ การผ่าตัดช่องท้อง การผ่าตัดศัลกรรมกระดูก การผ่าตัดมะเร็งและเนื้องอก เป็นต้น ด้วยเทคโนโลยี และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย
บริการรับฝากสัตว์ป่วย 24 ชั่วโมง
โรงพยาบาลสัตว์เศรษฐกิจสัตวแพทย์ ให้บริการรับดูแลสัตว์ป่วยอย่างใกล้ชิด โดยมีทีมสัตวแพทย์ ทีมบริบาลสัตว์ป่วย คอยดูแลตลอด 24 ชั่วโมง
บริการฝากสัตว์เลี้ยง - Pets Hotel 
รับฝากเลี้ยงสุนัข รับฝากเลี้ยงแมว
โดยมีทีมสัตวแพทย์ ทีมบริบาลสัตว์ป่วย คอยดูแลตลอด 24 ชั่วโมง

ศูนย์ผ่าตัดสัตว์เลี้ยง

+ ศูนย์การผ่าตัดศัลยกรรมและบริการทันตกรรมสัตว์เลี้ยง กรุงเทพฝั่งธน

ให้บริการศัลยกรรมสัตว์เลี้ยง ทางด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อ ศัลยกรรมระบบประสาท ศัลยกรรมโรคตาสัตว์
ศัลยกรรมเนื้องอกและมะเร็ง ศัลยกรรมทางด้านระบบสืบพันธ์ุ บริการด้านทันตกรรมสัตว์เลี้ยง เป็นต้น

โรงพยาบาลสัตว์เศรษฐกิจสัตวแพทย์ ได้ปรับปรุงห้องผ่าตัดและอุปกรณ์ตามมาตรฐานขั้นนำทางการสัตวแพทย์
ให้ทันสมัยเทียบเท่าห้องผ่าตัดในมนุษย์  และได้รวบรวมทีมสัตวแพทย์ศัลยกรรมชั้นนำระดับประเทศ เพื่อให้บริการกับสัตว์เลี้ยง
ที่ต้องการรักษาแก้ไขด้วยวิธีทางศัลยกรรม ให้มั่นใจว่า “ลูกๆ”  ของท่านจะปลอดภัยสูงสุดเมื่อต้องผ่าตัด

 
ทันตกรรมสุนัขแมว
ผ่าตัดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะสุนัขแมว
ผ่าตัดสิ่งแปลกปลอมในกระเพาะอาหารสุนัขแมว
ผ่าตัดส่องกล้องกระเพาะอาหารสุนัขแมว
ผ่าตัดสิ่งแปลกปลอมในกระเพาะอาหารสุนัขแมว
ผ่าตัดสิ่งแปลกปลอมในกระเพาะอาหารสุนัขแมว
ผ่าตัดทําหมันสุนัขแมว
ผ่าตัดส่องกล้องหูสุนัขแมว
ผ่าตัดเชอรี่อายในสุนัขแมว
ผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทสุนัขแมว
ผ่าตัดสะบ้าเคลื่อนสุนัขแมว
ผ่าตัดสะโพกเคลื่อนสะโพกหลุดสุนัขแมว
ผ่าตัดเนื้องอกสุนัขแมว
ผ่าตัดกระดูกหักและใส่เฝือกสุนัขแมว
ผ่าตัดมดลูกอักเสบสุนัขแมว
ผ่าตัดไส้เลื่อนสุนัขและแมว


คำถามที่พบได้บ่อย (FAQ)

ขั้นตอนการเตรียมตัวพาน้องแมวมาโรงพยาบาล
1. การยืนยันนัดหมายและไปตามเวลานัดหมาย เป็นสิ่งที่สำคัญ ถ้าหากไปตรงเวลานัดหมายจะช่วยลดระยะเวลาในการรอตรวจ และทำให้น้องแมวไม่ต้องเผชิญหน้ากับแมวตัวอื่น ๆ
2. ควรเลือกอุปกรณ์เคลื่อนย้าย เช่น ตะกร้า ที่แมวรู้สึกคุ้นเคย จะทำให้ลดความเครียดได้อย่างดี เวลาพาไปนอกเขตแดนตัวเอง ตะกร้าควรแข็งแรง มีรูระบายอากาศ เป็นตะกร้าที่สามารถเปิด-ปิด หรือแกะออกได้ การที่มีที่เปิด-ปิดด้านบน จะช่วยให้สามารถนำแมวออกมาได้ง่าย หากมีแมวมากกว่า 1 ตัวแนะนำให้หาตะกร้าแยก (1ตัว/ตะกร้า) แต่ถ้าหากแมวมีความสนิทสนมกัน ก็สามารถใส่ไว้ด้วยกันได้ 
3. ภายในตะกร้าควรมีกลิ่นที่คุ้นเคย อาจใช้ผ้าหรือที่นอนที่แมวชอบมาใส่ไว้ หรือหากมีผลิตภัณฑ์ เช่น ฟีโรโมนสังเคราะห์ ให้ฉีดที่ตะกร้าก่อนใช้ ประมาณ 30 นาที 
4. ควรจัดหาวัสดุมาปิดคลุมอุปกรณ์เคลื่อนย้าย เพราะแมวมักชอบหลบซ่อนตัวเพื่อให้รู้สึกปลอดภัย เช่น ผ้าขนหนู 
5. ในระหว่างการพาน้องแมวขึ้นรถมาโรงพยาบาล นำวางไว้บริเวณช่องว่างใต้เบาะ หรือจะวางบนเบาะ แต่ควรมีอุปกรณ์รัด เพื่อไม่ให้ตะกร้าเคลื่อนไปมาได้ จะทำให้แมวรู้สึกปลอดภัย ควรเปิดเพลงคลาสสิกเบาๆ และขับรถอย่างนุ่มนวล เพื่อให้แมวรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น และลดเสียงรบกวนจากสิ่งเร้า 
6. การถือตะกร้าหรืออุปกรณ์เคลื่อนย้าย ควรจับตะกร้าหรืออุปกรณ์เคลื่อนบริเวณด้านบน และบริเวณฐานตะกร้าหรืออุปกรณ์เคลื่อนย้าย  ไม่ควรถือตะกร้าให้กระแทกกับสีข้างลำตัวของผู้ถือ เพราะจะทำให้แมวตกใจได้ง่าย
7. เมื่อมาถึงโรงพยาบาลที่เป็นมิตรกับแมว (Cat friendly clinic) ควรพาแมวไปยังจุดพักคอย สำหรับแมวโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นจุดที่เงียบ สงบ และรู้สึกผ่อนคลาย เพื่อรอตรวจกับสัตวแพทย์
8. โดยปกติน้องแมวจะสามารถรับรู้อารมณ์ของเจ้าของได้ ด้วยการจดจำท่าทาง ลักษณะ สีหน้า และน้ำเสียง ถ้าหากเจ้าของรู้สึกผ่อนคลาย ไม่วิตกกังวล มีความสุข อารมณ์เชิงบวกเหล่านี้ จะส่งถึงให้แมว แต่ถ้าหากเจ้าของกังวล กลัว เครียด อารมณ์เหล่านี้ก็จะส่งถึงแมวเช่นกัน
9. นำขนมที่น้องชอบเพื่อเป็นรางวัลระหว่างการตรวจได้

การตรวจเลือดนั้นสำคัญมาก เพราะสามารถช่วยตรวจสอบสภาพร่างกายของสัตว์เลี้ยงได้หลายด้าน ไม่เพียงแต่ประเมินสุขภาพโดยรวมเท่านั้น แต่ยังช่วยตรวจสอบการทำงานของระบบต่างๆ และตรวจสอบการตอบสนองของร่างกายต่อการผ่าตัด ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการประเมินความเสี่ยงของการผ่าตัด โดยทั่วไปแล้วการตรวจเลือดจะประกอบด้วยการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพของเม็ดเลือด รวมถึงส่วนประกอบอื่นๆ ที่มีผลต่อการเกิดโรค ดังนั้นการตรวจเลือดก่อนการผ่าตัดจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง

การทำหมันในแมวทั้งเพศผู้เพศเมียที่อยู่ในภาวะเป็นสัด สามารถทำได้เลย ไม่มีข้อควระวังเหมือนกับในสุนัขเพศเมีย เพียงแต่ก่อนผ่าตัดทำหมันทั้งเพศผู้และเพศเมีย ควรต้องได้รับการตรวจเลือดอย่างละเอียด เพื่อประเมินสุขภาพก่อนทุกครั้งที่จะผ่าตัดทำหมัน

สำหรับการทำหมันในสุนัขเพศผู้ที่อยู่ในภาวะเป็นสัด สามารถทำได้ ไม่มีข้อควรระวังเหมือนกับในสุนัขเพศเมีย เพียงแต่ก่อนผ่าตัดทำหมัน ควรต้องได้รับการตรวจเลือดอย่างละเอียด เพื่อประเมินสุขภาพก่อนทุกครั้งที่จะผ่าตัดทำหมัน

สำหรับการทำหมันในสุนัขเพศเมียที่อยู่ในภาวะที่เป็นสัด บริเวณรังไข่และมดลูกจะมีเลือดไปเลี้ยงมากเป็นพิเศษ ทำให้การทำหมันต้องมีการระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะสัตว์เสียเลือดได้มากกว่าปกติ ดังนั้นก่อนผ่าตัดทำหมัน ควรต้องได้รับการตรวจเลือดอย่างละเอียด เพื่อประเมินสุขภาพก่อนทุกครั้งที่จะผ่าตัดทำหมัน

สำหรับสัตว์เลี้ยงทุกตัวที่มาใช้บริการแผนกผ่าตัดของโรงพยาบาลจะได้รับการดูแลเทียบเท่ากับห้องผ่าตัดของมนุษย์ ซึ่งห้องผ่าตัดของเราเป็นมาตรฐานเดียวกับคน จึงมั่นใจถึงความสะอาดและปลอดเชื้อได้ 100 % และระหว่างการผ่าตัดและหลังผ่าตัด สัตว์เลี้ยงจะได้รับการเฝ้าติดตามอาการข้อมูลความสำคัญต่างๆของร่างกายอย่างใกล้ชิดโดยใช้เครื่องมือที่ทันสมัยตลอดเวลา

โปรแกรมวัคซีนในสุนัข จะมีวัคซีน 2 ชนิด ที่แนะนำให้ฉีด
  1. วัคซีนรวม 5 โรค: เริ่มฉีดที่อายุ 2 เดือน ในปีแรก ฉีด 3 เข็ม ห่างกันครั้งละ 3-4 สัปดาห์ หลังจากนั้นฉีดปีละ 1 เข็ม
  2. วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า: เริ่มฉีดที่อายุ 3 เดือน ในปีแรก ฉีด 2 เข็ม ห่างกันครั้งละ 4 สัปดาห์ หลังจากนั้นฉีดปีละ 1 เข็ม

นอกจากวัคซีนแล้วยังมีโรคที่จะต้องป้องกันอื่นๆ อีก เช่น โรคพยาธิหนอนหัวใจ โรคนี้มียุงเป็นพาหะ สามารถก่อโรคได้ทั้งในสุนัขและแมว ควรเริ่มป้องกันได้ตั้งแต่อายุ 2 เดือนเป็นต้นไป ยาที่ใช้ป้องกันโรคพยาธิหนอนหัวใจ ยังสามารถกำจัดเห็บ หมัด พยาธิภายในลำไส้ (เป็นโรคติดต่อสู่คนเลี้ยงได้) ไรในหู ขี้เรื้อนรูขุมขน และขี้เรื้อนแห้ง

โปรแกรมวัคซีนในแมว จะมีวัคซีน 3 ชนิด ที่แนะนำให้ฉีด
  1. วัคซีนรวมป้องกันไข้หัด-หวัดแมว : เริ่มฉีดที่อายุ 2 เดือน ในปีแรก ฉีด 3 เข็ม
      ห่างกันครั้งละ 3-4 สัปดาห์ หลังจากนั้นฉีดปีละ 1 เข็ม
  2. วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า : เริ่มฉีดที่อายุ 3 เดือน ในปีแรก ฉีด 2 เข็ม ห่าง
      กันครั้งละ 4 สัปดาห์ หลังจากนั้นฉีดปีละ 1 เข็ม
  3. วัคซีนลิวคีเมีย : ก่อนจะฉีดวัคซีนชนิดนี้ ต้องได้รับการตรวจโรคลิวคีเมียก่อน 2
      ครั้ง เริ่มตรวจครั้งแรกที่อายุ 4 เดือน และตรวจครั้งที่สอง ที่อายุ 6 เดือน หาก
      ผลตรวจเป็นลบทั้งสองครั้ง จึงสามารถฉีกวัคซีนได้ สำหรับโปรแกรมการฉีด
      วัคซีนชนิดนี้ ในปีแรก ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 3-4 สัปดาห์  หลังจากนั้นฉีดปีละ 1
      เข็ม  

นอกจากวัคซีนแล้วยังมีโรคที่จะต้องป้องกันอื่นๆ อีก เช่น โรคพยาธิหนอนหัวใจ โรคนี้มียุงเป็นพาหะ สามารถก่อโรคได้ทั้งในสุนัขและแมว ควรเริ่มป้องกันได้ตั้งแต่อายุ 2 เดือนเป็นต้นไป ยาที่ใช้ป้องกันโรคพยาธิหนอนหัวใจ ยังสามารถกำจัดเห็บ หมัด พยาธิภายในลำไส้ (เป็นโรคติดต่อสู่คนเลี้ยงได้) ไรในหู ขี้เรื้อนรูขุมขน และขี้เรื้อนแห้ง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้