All contents

ในบ้านเราคงมีใครหลายๆ คนที่ชื่นชอบและเลี้ยงสุนัขพันธุ์เล็กกันอยู่ไม่ใช่น้อย อย่างชิสุ ชิวาวา พุดเดิ้ล หรือปอมเมอเรเนียน ที่เรามักจะเห็นคนนิยมเลี้ยงกันอยู่บ่อยๆ ด้วยความน่ารัก ขี้อ้อน ที่มาพร้อมกับคซึ่งนอกจากความน่ารักหรือนิสัยของสุนัขพันธุ์เล็กที่ทำให้เป็นที่นิยมแล้วนั้น เรื่องของขนาดตัวของเค้าก็เป็นสิ่งที่ทำให้คนส่วนใหญ่ตัดสินใจเลี้ยงสุนัขพันธุ์เล็กเช่นกัน

แมวถือว่าเป็นเพื่อนสนิทคนสำคัญของมนุษย์มาตั้งแต่ไหนแต่ไร โดนธรรมชาติแล้ว แมวมีพื้นฐานเป็นสัตว์นักล่าที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวและอิสระเสรี แต่การที่มีนิสัยรักอิสระชอบออกท่องเที่ยวโลกภายนอกนี่แหละกลับเป็นสาเหตุที่ทำให้แมวติดเชื้อโรคและโรคภัยไข้เจ็บได้

โรคหัวใจที่พบในสัตว์เลี้ยงสามารถพบได้เช่นเดียวกับในคน คือสามารถพบได้ตั้งแต่เกิดตามกรรมพันธ์ุ หรือพบภายหลังตามมา ซึ่งโดยทั่วไปมักพบว่าโรคหัวใจมีการพัฒนาขึ้นในช่วงกลางชีวิต โรคหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลังเป็นลักษณะที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะสัตว์ที่มีอายุมาก

เจ้าของสัตว์เลี้ยงหลายๆคนอาจมีความเข้าใจว่าการที่ สุนัขหรือแมวอ้วนดูมีสุขภาพดี และมีความสุข โดยที่ไม่ทราบถึงความเสี่ยงของการเกิดโรคต่าง ๆ ที่จะตามมาถ้าสัตว์เลี้ยงของ ท่านมีภาวะอ้วน เช่นเดียวกับในมนุษย์

บริเวณช่องปากและฟันของน้องหมาเป็นส่วนเล็ก ๆ ในร่างกายที่ไม่ต้องดูแลอะไรมากนัก แต่จริง ๆ แล้ว ช่องปากและฟันของน้องหมาถือเป็นอวัยวะส่วนสำคัญที่มักก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ โดยเฉพาะในน้องหมากลุ่มเสี่ยงอย่าง น้องหมาสายพันธุ์เล็ก

โรคตาแห้ง หรือ Keratoconjunctivitis Sicca (KCS) หรือ Dry Eye เกิดจากน้ำที่เป็นองค์ประกอบของน้ำตาลดลงจนเหลือแต่ส่วนประกอบเมือกและไขมัน ส่งผลให้เกิดการระคายเคืองที่ดวงตา เยื่อบุตาขาวแดงขึ้น กระจกตาเริ่มเปลี่ยนสีเป็นขาวขุ่นหรือเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล (เม็ดสี) กระจกตาไม่ใสเหมือนแต่ก่อน และส่วนใหญ่มักจะมีขี้ตาสีเหลืองหรือสีเขียวออกมา

เมื่อเข้าหน้าฝน สิ่งหนึ่งที่คนรักสัตว์เลี้ยงทั้งหลายต้องระวังมากเป็นพิเศษคือเจ้าเห็บหมัดตัวร้ายที่ทำให้น้องหมาน้องแมวเกิดอาการคันยุกยิก ๆ เพราะเจ้าเห็บหมัดจะสามารถฟักตัวได้ดีในอากาศที่มีลักษณะชื้น ซึ่งหากปล่อยไว้นาน ๆ อาจนำโรคมาสู่สัตว์เลี้ยงที่รักของคุณได้

ในปัจจุบันการเลี้ยงสุนัขนั้นเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย โดยส่วนมากเจ้าของจะเลี้ยงน้องหมาให้กลายเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัว แต่หากว่าวันใดวันหนึ่ง น้องหมาที่เราเลี้ยงอยู่นั้นเกิดอาการไม่ทักทายเจ้าของเหมือนก่อน หรือแม้อาจมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว ไปจนถึงกัดเจ้าของได้นั้น อาจเป็นสัญญาณบอกเหตุของโรคสมองเสื่อม หรือ อัลไซเมอร์

โรคข้ออักเสบ หรือโรคข้อเสื่อมในสุนัข เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น การถ่ายทอดทางพันธุกรรม น้ำหนักตัวที่มากเกินไป หรืออายุของสุนัขที่มากขึ้น เป็นต้น ซึ่งโรคข้อเสื่อมในสุนัขเกิดจากการที่กระดูกอ่อนที่ห่อหุ้มผิวข้อต่อเสื่อม และขาดน้ำหล่อเลี้ยงบริเวณข้อต่อ ไปจนถึงเยื่อหุ้มข้ออักเสบ

การตรวจลิวคิเมียและเอดส์แมว จะใช้เป็นการตรวจ แอนติเจน (antigen) ต่อเชื้อ FeLV และตรวจภูมิคุ้มกัน (Antibody) ต่อเชื้อ FIV ด้วยวิธี test kit โดยจะตรวจอย่างน้อย 2 ครั้ง ห่างกัน 2 เดือน ก็จะทำให้เราสามารถทราบสถานะการติดเชื้อของน้องแมวได้แล้ว

เมื่อทราบข้อมูลของโรค การติดต่อ อาการทางคลินิก และวิธีการจัดการแล้ว ครั้งนี้จึงจะมาบอกวิธีการป้องกันไม่ให้น้องแมวของเราปลอดภัยจากโรคนี้กันนะคะ วิธีที่เราจะป้องกันได้นั่นก็คือ การทำวัคซีนนั่นเอง

ไต เป็นอวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่ขับของเสียภายในเลือดและร่างกายออกมาในรูปของปัสสาวะ และช่วยในการรักษาสมดุลของน้ำและแร่ธาตุในร่างกาย ภาวะที่ก่อให้เกิดความเสียหายกับไตจนทำให้ไตทำงานผิดปกติ จะเป็นภาวะที่ก่อให้เกิด ‘โรคไต’

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่