บทความนี้ใช้คำชี้แจงตามหลักวิทยาศาสตร์และข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก ( World Health Organization, WHO ) / องค์กรดุแลสุขภาพสัตว์และควบคุมโรคสัตว์ในระดับสากล ( World Organisation for Animal Health ,OIE)
1. " สัตว์เลี้ยงอยู่ตัวเดียวในบ้าน ไม่ต้องฉีดวัคซีนก็ปลอดภัย "
- ความจริง : X เสี่ยงติดเชื้อได้
o สัตว์เลี้ยงอาจหลุดออกไปนอกบ้านหรือสัมผัสสัตว์จรจัดโดยไม่รู้ตัว
o เชื้อพิษสุนัขบ้าติดต่อผ่าน น้ำลาย แม้แผลเล็กน้อย เช่น การกัดหรือข่วน
o วิธีป้องกัน : ฉีดวัคซีนทุกปี ตามคำแนะนำของสัตวแพทย์
2. " โดนสัตว์กัดแล้วไม่ต้องรีบไปพบแพทย์ ถ้าวันนี้ไม่ว่าง รอพรุ่งนี้ก็ได้ "
- ความจริง : X อันตรายถึงชีวิต!
o เชื้อไวรัสเข้าสู่ระบบประสาทได้ภายใน 24-72 ชั่วโมง
o การฉีดวัคซีน วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ( Rabies Vaccine) และเซรุ่ม Rabies Immunoglobulin: RIG ต้องเริ่มภายใน 24 ชั่วโมงหลังถูกกัด
o คำแนะนำ : ล้างแผลด้วยน้ำสะอาดและสบู่ 15 นาที แล้วไปพบแพทย์ทันที
3. " แค่น้องหมาเลียมือ ไม่เห็นต้องตกใจ "- ความจริง : X เสี่ยงติดเชื้อหากมีแผล!
o เชื้อพิษสุนัขบ้าอยู่ในน้ำลายสัตว์ หากมือมีแผลถลอกหรือรอยขีดข่วน เชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายได้
o วิธีป้องกัน : ล้างบริเวณที่ถูกเลียบ่อยๆ ด้วยน้ำสบู่ และสังเกตอาการสัตว์
4. " สัตว์ที่ดูปกติ ไม่มีอาการดุร้าย แปลว่าไม่ติดเชื้อ "- ความจริง : X สัตว์ติดเชื้ออาจไม่แสดงอาการนาน 3-12 สัปดาห์
o เชื้ออยู่ในน้ำลายได้ 3-10 วันก่อนแสดงอาการ
o สัตว์อาจตายกะทันหันโดยไม่มีสัญญาณเตือน
5. " โรคพิษสุนัขบ้าเกิดเฉพาะในสุนัข ไม่เกี่ยวกับแมวหรือสัตว์อื่น "- ความจริง : X สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดติดเชื้อได้
o แมว หนู กระรอก ค้างคาว ลิง ฯลฯ เป็นพาหะได้เช่นกัน
o ข้อมูล WHO : 99% ผู้ป่วยคนติดเชื้อจากสุนัข แต่ 1% มาจากสัตว์อื่น
6. " แผลเล็กมาก ไม่ล้างก็ไม่เป็นไร "- ความจริง : X แผลทุกขนาดต้องล้างทันที!
o เชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายผ่าน เยื่อเมือกหรือรอยขีดข่วน
o วิธีล้างแผลถูกต้อง : ใช้สบู่กับน้ำสะอาดถูแรงๆ นาน 15 นาที
7. " สัตว์ฉีดวัคซีนแล้ว ไม่ต้องกักตัวหลังถูกกัด "- ความจริง : X ต้องกักสังเกตอาการ 45 วันเสมอ
o วัคซีนอาจไม่ได้ประสิทธิภาพ 100% หากสัตว์มีภูมิคุ้มกันต่ำ
o ข้อมูล OIE : แม้สัตว์ได้รับวัคซีนครบ ต้องกักตัวเพื่อความปลอดภัย
8. " โรคพิษสุนัขบ้ารักษาหายได้ "- ความจริง : X เมื่อแสดงอาการ = เสียชีวิต 100%
o มีเพียงอย่างเดียวที่ทำได้ คือ การป้องกันหลังสัมผัสเชื้อ ( Post-Exposure Prophylaxis,PEP)
o สำหรับโรคพิษสุนัขบ้า ต้องฉีดยา 2 ชนิดควบคู่กัน ภายใน 24 ชั่วโมงหลังถูกกัด ดังนี้:
1. วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies Vaccine)
- จำนวนเข็ม : 4-5 เข็ม (ขึ้นอยู่กับโปรแกรมของแพทย์)
- ตัวอย่างโปรแกรม : ฉีดวันที่ 0, 3, 7, 14 และ 28
- วิธีทำงาน : กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส
- เหตุผลต้องฉีดหลายเข็ม : เพื่อให้ภูมิคุ้มกันสูงพอที่จะยับยั้งเชื้อก่อนเข้าสู่ระบบประสาท
2. อิมมูโนโกลบูลิน (Rabies Immunoglobulin: RIG) - วิธีฉีด : ฉีดรอบแผลและเข้ากล้ามเนื้อ - วิธีทำงาน : ให้แอนติบอดีสำเร็จรูปเพื่อป้องกัน เชื้อทันทีไม่ให้เข้าสู่ระบบประสาท ก่อนที่วัคซีนจะออกฤทธิ์9. " สัตว์จรจัดไม่มีประโยชน์ ควรกำจัดทิ้ง "- ความจริง: X ต้องควบคุมด้วยการฉีดวัคซีนและทำหมัน
o การฆ่าสัตว์จรจัดไม่ช่วยลดการระบาด แต่ทำให้สัตว์ไม่ได้รับวัคซีน
o ข้อมูล WHO : การฉีดวัคซีนสัตว์จรจัด ≥80% ในพื้นที่ ช่วยหยุดวงจรการแพร่เชื้อ
10. " ช่วงไหนสัตว์ไม่กัด ไม่ต้องระวังโรคพิษสุนัขบ้า "- ความจริง : X โรคนี้เกิดได้ทุกฤดู!
o การติดเชื้อขึ้นกับ การถูกกัด/ข่วน ไม่เกี่ยวกับอากาศร้อนหรือหนาว
o สัตว์ติดเชื้ออาจแพร่เชื้อได้ตลอดปี
ความเชื่อผิดๆ เหล่านี้ เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและเสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้า การเข้าใจข้อมูลที่ถูกต้องและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และสัตวแพทย์ คือ วิธีป้องกันที่ดีที่สุด!